ห่วงโซ่คุณค่าและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ลักษณะห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยให้ความใส่ใจและคำนึงถึงผลกระทบและประโยชน์ที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจในทุกกระบวนการทำงานตั้งแต่ การจัดหาวัตถุดิบ การตรวจรับวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบ การจัดเตรียมวัตถุดิบและผลิตสินค้า การกระจายวัตถุดิบและสินค้า การจัดเตรียมและการปรุงวัตถุดิบ และการบริการลูกค้า ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานภายในด้านอื่นๆ ทั้งหมด โดยมีเป้าหมายให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มีความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การนำเสนอข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้น
- การตอบข้อซักถามผ่านฝ่ายประชาสัมพันธ์ ของบริษัทฯ
- การเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ
- การจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
- การเชิญนักลงทุนเข้าเยี่ยมชมกิจการ
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- ผลตอบแทนจากการลงทุน
- การกำกับดูแลกิจการ ระบบการตรวจสอบ และการควบคุมภายในที่ดี
- การเติบโตของธุรกิจและความสามารถในการทำกำไรอย่างยั่งยืน
- กรรมการและผู้บริหารมีความสามารถ และคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งในบริษัทฯ
- การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม
- การเปิดเผยข้อมูลที่มีความสำคัญกับธุรกิจอย่างครบถ้วนแก่ผู้ถือหุ้นทุกราย
- การได้รับเงินปันผลเมื่อบริษัทฯ มีความพร้อม
การตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- จัดทำแผนธุรกิจประจำปีและเปิดเผยใน ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
- จัดทำกฎบัตรคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งกำหนดคุณสมบัติและความสามารถของบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ
- จัดทำตารางทักษะผู้บริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารกำลังคนและการทำงานของกรรมการและผู้บริหาร
- จัดทำนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้กิจการสามารถแข่งขันได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พร้อมสร้างความเชื่อมั่นเพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้น
- เปิดเผยงบการเงินและข้อมูลสำคัญต่อ ผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้องและตรงเวลา
- จัดทำนโยบายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลอย่างเหมาะสม
ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การจัดให้มีช่องทางรับร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส
- การจัดให้มีกล่องรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- การสื่อสารระหว่างพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพนักงงานฝ่ายต่างๆ
- การประเมินความพึงพอใจของพนักงาน
- การจัดประชุมพนักงานประจำปี
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- กระบวนการทำงานที่เป็นธรรมต่อพนักงานทุกฝ่าย
- การกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นๆ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับผลการทำงาน
- ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- การพัฒนาทักษะ และความรู้ความสามารถ
- การใส่ใจความปลอดภัย สุขอนามัย และสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจของพนักงาน รวมถึงการจัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่เหมาะสม
- การจัดให้มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอและอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
- ความมั่นคงของบริษัทฯ
- การเคารพสิทธิมนุษยชนและการได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
การตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- วางแผนการจัดการและจัดทำนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งครอบคลุมนโยบายด้านอาชีว อนามัยและความปลอดภัย การประเมินผลและการพัฒนาบุคลากร ค่าตอบแทนและสวัสดิการพนักงาน รวมถึงสิทธิมนุษยชน
- จัดทำคู่มือการดำเนินงาน ซึ่งระบุโครงสร้างองค์กร รายละเอียดงาน ขั้นตอนการทำงาน และดัชนีชี้วัดควาสำเร็จเพื่อใช้เป็นหลักยึดเหนี่ยวในกระบวนการทำงาน รวมถึงการประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร
- การแต่งตั้ง และการโยกย้าย รวมทั้งการให้รางวัล และการลงโทษพนักงาน ต้องกระทําด้วยความเสมอภาค สุจริตใจ และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ความสามารถ และความเหมาะสม รวมทั้งการกระทํา หรือการปฏิบัติของพนักงานนั้นๆ
- การอบรมและส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาทักษะและความรู้อย่างต่อเนื่อง
- การกำหนด Succession Plan เพื่อวางแผนการเติบโตของสายอาชีพในตำแหน่งที่สำคัญต่างๆ
- การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบรายได้และสวัสดิการของบริษัทในธุรกิจที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
- จัดทำแบบสำรวจประเมินความพึงพอใจและความสุขในการทำงาน พร้อมกับจัดช่องทางรับร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแส
ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
- การจัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะ
- การตอบสนองต่อการร้องขอในการเปิดเผยข้อมูล
- การจัดทำข้อตกลงระหว่างกันเป็นลายลักษณ์อักษร
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- มาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัยของแหล่งที่มาของวัตถุดิบ สินค้า และการให้บริการ
- การได้รับข้อมูลของสินค้าและบริการอย่างถูกต้อง
- การส่งมอบสินค้ารวดเร็ว และไม่ได้รับความเสียหาย
- ราคาสินค้าและบริการมีความเป็นธรรมและสมเหตุสมผล
- การปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- การรักษาความลับและข้อมูลของลูกค้า
การตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- การคัดเลือกและตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และปลอดภัยตามมาตรฐานที่บริษัทฯ กำหนด
- การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพการประกอบอาหารทุกขั้นตอนและความสะอาดของพื้นที่ครัวกลาง เพื่อส่งมอบอาหารและการบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามหลักโภชนาการและสุขอนามัยที่ดี
- การพัฒนาสินค้าที่ยึดถือความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง
- การจัดให้มีระบบ ช่องทาง และการตอบสนองต่อข้อร้องเรียนเกี่ยวกับบริการจากลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ พร้อมกับมีมาตรการการรักษาข้อมูลความลับของลูกค้าอย่างเหมาะสม
ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การจัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ
- การตอบสนองต่อการร้องขอในการเปิดเผยข้อมูล
- การจัดทำข้อตกลงระหว่างกันเป็นลายลักษณ์อักษร
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและเงื่อนไขที่เป็นธรรมและโปร่งใสต่อคู่ค้าทุกราย
- มีความสามารถในการปฏิบัติตามสัญญา ทั้งการชำระเงินและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง
- การสร้างคุณค่าและผลประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกัน เพื่อสร้างพันธมิตรทางธุรกิจในระยะยาว
- การรักษาความลับและข้อมูลของคู่ค้า
การตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- ปฏิบัติตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและเงื่อนไขสัญญาอย่างสุจริต โปร่งใส และเป็นธรรมแก่คู่สัญญาทุกฝ่าย
- จัดทำนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจให้คำนึงถึงผลกระทบพร้อมสร้างคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
- การจัดให้มีมาตรการการรักษาข้อมูลความลับของคู่ค้าอย่างเหมาะสม
ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร
ช่องทางการมีส่วนร่วม
- การเผยแพรข้อมูลบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ
- การจัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียน
- การจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน
- การจัดทำรายงานประจำปีและรายงานความยั่งยืน
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคมและชุมชนใกล้เคียง
- การสร้างงานและส่งเสริมอาชีพให้แก่ชุมชน
- การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขอนามัยที่ดีให้แก่ชุมชนที่เกี่ยวข้องของกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทาน
- การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมและดูแลเรื่องสภาพแวดล้อมให้กับชุมชน
การตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- จัดทำนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- การสนับสนุนการจ้างงานในชุมชนใกล้เคียง เพื่อสร้างการกระจายรายได้และเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ชุมชน
- ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมสิ่งแวดล้อม และข้อกำหนดของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรต่างๆ และลดผลกระทบจากการปล่อยมลพิษ
- การจัดให้มีระบบ ช่องทาง และการตอบสนองต่อข้อร้องเรียนจากชุมชนใกล้เคียงที่อาจได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงาน
- การจัดให้มีโครงการและกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ และแบ่งปันโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคม หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ